วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารการศึกษา
บทนำ

          ในยุคปัจจุบันเรากำลังอยู่ในคลื่นลูกที่สามซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากการพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ช่วยให้มนุษย์มีศักยภาพและความสามารถมากขึ้นทุกๆด้าน ทำให้มนุษย์สามารถบันทึกข้อมูลที่เป็นบันทึกของเหตุการณ์ต่างๆ เอาไว้ได้เป็นจำนวนมาก สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดประมวลให้เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่เห็นได้ง่ายก็คือ สารสนเทศช่วยให้นักธุรกิจเข้าใจตลาดและลูกค้ามากขึ้น มีความเข้าใจว่าลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการผลิตภัณฑ์แบบไหน และมีคุณภาพระดับใด นักธุรกิจที่รู้จักใช้ข้อมูลสารสนเทศในการประกอบกิจการ ก็มีความเข้าใจคู่แข่ง สิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตชิ้นส่วนมากขึ้น ผลของความรู้ความเข้าใจเหล่านี้ ทำให้นักธุรกิจสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              การบริหารงานในยุคปัจจุบัน  ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ  ต้องอาศัย การพิจาณาตัดสินใจสั่งการอย่างถูกต้องและเหมาะสม (อุทัย  บุญประเสริฐ,2543) กล่าวว่า หลักการพื้นฐานแบบง่ายๆ ที่น่าจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารนั้นพัฒนามาจากการที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใด โดยมีการคิดพิจารณาอย่างเป็นระบบรอบครอบ ซึ่งใช้แต่ระเบียบกฎเกณฑ์และประสบการณ์ที่เคยใช้ในอดีตอีกต่อไปไม่ได้ ต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เชื่อกันว่าการตัดสินใจโดยใช้ระบบข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐาน น่าจะเป็นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพสูงในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง งานตามภาระหน้าที่ของผู้บริหาร มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศทุกเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ และด้านการจัดการ ซึ่งต้องกระทำอย่างรอบคอบ เพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดผลทางด้านประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสูงสุดของผู้บริหารทุกระดับ จึงจำเป็นที่ผู้บริหารต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจโดยข้อมูลและสารสนเทศต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการ(Requirement) มีความถูกต้อง (Accuracy) และมีความทันต่อเหตุการณ์ (Timeliness) ในยุคข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT-Information Technology) มีบทบาทในการจัดการศึกษามากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาขึ้น สภาพสังคมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในขณะเดียวกับนโยบาย ทางการการศึกษาได้พัฒนาให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้นการจัดการศึกษาในสถานศึกษาจึงต้องจัดให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ


                 ดังนั้น ในการที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงต้องได้รับข้อมูลข่าวสารสารสนเทศเกี่ยวกับทรัพยากร ด้านนั้นมาใช้ประกอบการตัดสินใจ การที่จะรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจให้ครบถ้วนได้นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาย่อมมีเวลาไม่เพียงพอจึงต้องอบหมายให้มีบุคลากรจัดเตรียมแหล่งข้อมูลต่างๆ ตามความต้องการทันต่อเวลาในการใช้ประกอบการตัดสินใจตลอดจนการจัดกระทำข้อมูลดังกล่าวมาแล้วเรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System หรือ MIS)
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา
          เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการบริหารจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน หากมีการวางแผนในการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้บริหารงานในโรงเรียนเป็นระบบ  สะดวก รวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือในการนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา

 หลักการสำคัญในการบริหารจัดการข้อสารสนเทศในโรงเรียนมี ดังนี้
1. ประชุมสร้างความตระหนักให้บุคคลกรทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของ   การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ
2. วางแผนจัดระบบงานในโรงเรียนให้เป็นหมวดหมู่
3. มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบแต่ละงานอย่างชัดเจน
4. ผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย
5. นิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
6. ตรวจสอบข้อมูลเป็นระยะ
7. สรุปผลและประเมิน
8. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้อมทราบทุกปี
เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology) หมายถึง กระบวนการใช้เทคโนโลยีใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง สารสนเทศ (Information) เพื่อการ ตัดสินใจดำเนินงานใด ๆสารสนเทศ เป็นข้อสรุปที่ได้มาจาก กระบวนการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์ หรือ ประมวลผล สรุปได้เป็นความรู้ใหม่  ที่บ่งบอกถึง อาการ สภาพ สถานะ ของเรื่องนั้น ๆ ในช่วงเวลาที่ศึกษาช่วงนั้น ๆ
การวิเคราะห์สังเคราะห์ให้ได้สารสนเทศเรื่องต่างๆเพื่อการนำไปใช้ในการ บริหารจัดการการเรียนการสอน หรือการดำเนินงานใดๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิ-ภาพสูงสุด เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน  เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน สารสนเทศ เกี่ยวกับนักเรียน ผลการเรียนนำไปใช้ในการ  แก้ปัญหา หรือส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน เป็นต้นการได้มาซึ่งสารสนเทศ จะได้มาโดยวิธีใด ๆ ก็ได้  ซึ่งเดิม ใช้วิธี ออกแบบสอบถาม สำรวจ สัมภาษณ์ ฯลฯ ได้ข้อมูลมาแล้ว นำมา แจงนับ วิเคราะห์ สรุป กว่าจะได้ Information มา ส่วนมาก สายไปเสียแล้ว เพราะ กระบวนการแบบเดิม ต้องใช้เวลา และแรงงาน ค่อนข้างมาก

Information หรือสารสนเทศที่ดีต้องครอบคลุม ถูกต้อง รวดเร็ว ทุกเมื่อ ทุกเวลา หรือ ทันเวลาเมื่อต้องการใช้งาน นำมาประกอบการตัดสินใจได้ทันทีปัจจุบัน เราทราบกันดีอยู่แล้ว เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร  มีการพัฒนาสูงสุด สูงเกินกว่าที่เราจะนำมาใช้ประโยชน์มากทีเดียว หากแต่ว่ายังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เต็มศักยภาพซึ่งด้วยสาเหตุหลายๆ ประการ  เช่น  ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่ามันทำได้อย่างไร   พอจะรู้บ้างแต่ไม่รู้วิธี ขาดบุคลากรที่รู้ และเข้าใจจริง ๆ  หรือ รู้แล้ว แต่ยังไม่ทำ ฯลฯ ช่วงเวลา 1-2 ปี ที่ผ่านมามีคำใหม่เกิดขึ้น คือ ICT. หรือ  Information and Communication Technology  ซึ่งมีความหมายครอบคลุม ถึงเทคโนโลยีการสื่อการสื่อสารไปด้วยจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ใคร่เสนอแนะ สิ่งที่ควรจะเป็น ในการนำ IT. หรือ ICT. เข้ามาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีอยู่ และปัจจุบัน โรงเรียนจำนวนไม่น้อยที่มีขีดความสามารถที่จะทำได้ท่านจะเริ่มต้น    อย่างไร
         ประการที่ 1  กำหนดจุดประสงค์การนำคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารเข้ามาใช้ในโรงเรียนควรจะกำหนดจุดประสงค์ไว้   3  ประการ
1.  เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ สำหรับ นักเรียน และครู (จุดประสงค์เดิมที่เป็นอยู่)
2.  เพื่อการบริหารจัดการในโรงเรียน (ระบบบริหารทั่วไป)
3.  เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ

        ประการที่ 2 สร้างความเข้าใจแก่บุคคลทุกระดับซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน วัฒนธรรมการทำงาน ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้  บุคลากรต้องพัฒนาทั้งทักษะทางเทคโนโลยีและพัฒนาความคิด วิเคราะห์ให้เข้าใจในกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยี ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบ วิธีการทำงาน ให้สอดคล้องกับวิธีทางเทคโนโลยี ต้องพัฒนาตนเอง

ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษาการใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษาของผู้บริหารการศึกษาระดับต่างๆ นั้นโดยทั่วไปก็เพื่อให้งานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีประโยชน์ดังต่อไปนี้
ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลบางอย่างอาจจัดเก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้วก็สามารถค้นคืนข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน
ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำเป็นรายงาน ตาราง กราฟ และ แผนภาพต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบรายงานและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยในการประเมิน หรืองานประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายจริง
ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน ทำให้ผู้รับได้รับข้อมูลและรายงานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลนั้นหากผู้รับต้องการนำไปใช้ประมวลผลต่อก็สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่อีกครั้ง
ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างการประชุมสัมมนา
ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน และ การดูงาน เพื่อสร้างเป็นฐานความรู้สำหรับนำมาให้ผู้บริหารระดับล่างได้ศึกษาและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น ความรู้จากการเปิดสาขาวิชาหรือหลักสูตรใหม่ว่ากำหนดแนวทางไว้อย่างไร การดำเนินงานได้ผลอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ผลของการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร
               ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้โดยอาศัยโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ จากนั้นก็อาจเลือกดำเนินงานโดยใช้แนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดได้
ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร เช่น การบริหารงานโครงการ การบันทึกตารางนัดหมาย การบันทึกข้อมูลส่วนตัว การจัดทำเอกสารที่ยังไม่ต้องการเปิดเผย การคำนวณหรือการประมวลผลบางอย่าง
จากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักศึกษาจะเห็นว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานในปัจจุบัน เราอาจสรุปความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้ดังต่อไปนี้
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษามีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การสื่อสารและการประสานงานด้านการบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาสะดวกรวดเร็ว
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้พัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและมั่นคง
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาทุกระดับที่มีคุณภาพได้
ปัจจุบันผู้บริหารในการศึกษาได้นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชและมีบทบาทความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น อาทิ เช่น
                 1. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไม่ผิดพลาด และการตัดสินใจที่รวดเร็วและไม่ผิดพลาดนั้นจําเป็น ต้องมี ข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัย มีจํานวนมากเพียงพอ และสามารถนํามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารนํามาใช้ในการตัดสินใจมีดังนี้



                         1.1 ระบบสารสนเทศสําหรับผู้บริหาร (Executive Systems) หรือ “EIS” ในบางครั้งอาจเรียกว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร” (Executive Support Systems) หรือ “ESS” ระบบ EISเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงช่วยให้  ผู้บริหารสามารถทําความเข้าใจ ปัญหาอย่างชัดเจน และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
                          1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) หรือ DSS ระบบ DSS เป็นระบบที่ ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบDSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหารแต่จะไม่ทําการตัดสินใจแทนผู้บริหาร โดยประมวลผลและนําเสนอข้อมูล ที่สําคัญต่อการตัดสินใจ ตลอดจนประเมินทางเลือกที่เหมาะสมภายใต้ข้อจํากัดของแต่ละสถานการณ์เพื่อให้ผู้บริหารใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของตนวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์นั้นๆ
                  2. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานทางไกล มีการนําสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม มาใช้ในการติดต่อการสื่อสารและการบริหารงานทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จายเป็น อันมาก ถึงแม้จะอยู่ไกลกันก็สามารถทํางานร่วมกัน ประชุมร่วมกันไดเ้โดยใช้Teleconference เป็นต้น
                3. การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา   ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่ง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใชในการบริหารงานด้านต่างๆ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียน การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานธุรการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ การบริหารงานอาคารสถานที่และการการบริหารงานชุมชน
               4. การสร้างเครือข่ายข้อมูล (Network) ด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมี โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนมัธยม (Schoolnet)   ซึ่งเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอรแห่งชาติ ไดนําแนวพระราชดําริมาดําเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม)
             5. การนํานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา  ในปัจจุบันผู้บริหาร หน่วยงานทางการศึกษานํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่าง อาทิเช่น
                  5.1 อินเตอร์เน็ต (Internet)  เพื่อใช้ในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                   5.2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูอาจารย์ตรวจ
                   5.3 การจัดทํา Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพร่ขาวสารของสถานศึกษา  เป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
                  5.4 การใช้โปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชนต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย์ การทําวิจัยสถานบันของฝ่ายบริหาร และอื่น ๆ
                  5.5 การทํา PowerPoint    เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของครูอาจารย์ และใช้เสนอผลงานของ    ผู้บริหารสถานศึกษา
                  5.6 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนสําเร็จรูปในคอมพิวเตอร์
                   5.7 การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า
E-Learning    เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้  โดยอาศัยเครือข่าย อินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจํากัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
                   5.8 ห้องเรียนอัจฉริยะ (Electronic Classroom หรือ E-Classroom) เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ on-line และ ปฏิสัมพันธ์ (interactive) สามารถควบคุมและและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของครูแบบ real  time
                  5.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส (E-book) และ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) เพื่เสริม การเรียนการสอน และใหบริการค้นคว้าหาความรู์แก่นักเรียน ครูอาจารย์ และประชาชน
                  5.10 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT”  (Information and Communication Technologies)  เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาครูอาจารย์ การช่วยให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ ฉับไว มีประสิทธิภาพสูงสุด


       ตัวอย่าง    การใช้ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียนประถมโรงเรียนประถมศึกษาพาร์กเลน ในปีเตอร์โบโร แสดงให้เห็นความสำคัญของการรวบรวม บันทึก และการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเพื่อติดตามความคืบหน้าของนักเรียนอย่างใกล้ชิด วาล คาเมรอน ผู้อำนวยการสนับสนุนการใช้ระบบซอฟต์แวร์ข้อมูลทั้งโรงเรียน ครูป้อนข้อมูลผลการสอบวัดระดับมาตรฐานลงในระบบคอมพิวเตอร์ และใช้เป้าหมายในชั้นเรียนเพื่อตรวจสอบติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน เจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ทำหน้าที่สอนบันทึกข้อมูลการเข้าเรียน และความสำเร็จของนักเรียนลงในบันทึกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนแต่ละคน วิธีการที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปนี้ทำให้ผู้อำนวยการสามารถหยิบยกประเด็นการเข้าชั้นเรียนปรึกษากับเจ้าหน้าที่สวัสดิการการศึกษา หรือคณะกรรมการโรงเรียนได้ โรงเรียนนำข้อมูลไปใช้ในทางบวก สร้างภาพที่ชัดเจนของนักเรียนทุกคนด้วยการบันทึกความสำเร็จของพวกเขาทั้งใน และนอกห้องเรียน
วิดีโอสาธิต
 
       ตัวอย่าง  เปลี่ยนโฉมการเรียนการสอน ด้วยไอซีที - Leadership and Technology : Transforming Teaching and Learning with ICT โรงเรียนลองฟิลด์ แสดงให้เห็นว่าการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างหลักสูตรช่วยปรับปรุงผลการสอบจบภาคบังคับได้อย่างไร ภายในเวลา 5 ปี ผลการสอบจบภาคบังคับเพิ่มจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ได้รับเกรด A* - C จำนวน 5 วิชาจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 78 แรงบันดาลใจเบื้องหลังคือกลยุทธ์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงหลักสูตร และการพัฒนาความเป็นผู้นำ คีท คอตเกรฟ และทีมความเป็นผู้นำอาวุโสร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน และบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขายังได้อภิปรายเกี่ยวกับวิธีการพัฒนากลยุทธ์การนำเทคโนโลยีมาใช้ การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับเจ้าหน้าที่ ช่องทางการเรียนรู้ของโรงเรียน และตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในห้องเรียน
วิดีโอสาธิต


  ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โนเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคของ การปฎิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษายุคใหม่ต่างก็นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ใน    การบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้ประสบผลสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง 



 แหล่งอ้างอิง :
          เรณู.(2551).การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา Online]Available:http://gotoknow.org/blog/renujun/168679.Accessed[31/12/2552].
          สาคร แสงผึ้ง.(2550).เทคโนโลยีสารสนเทศที่ควรจะเป็น.[Online] Available:http://www.nitesonline.net/warasan/13_sakorn.doc.Accessed[31/12/2552].
          ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์.(2549).เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา.[Online]Available:  http:// http://www.drkanchit.com/general_articles/articles/general_24.html.Accessed[22/2/2553].
          ดร.ไพฑูรย ศรีฟ้า.(2548).บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษา.[Online]Available:  http:// http://www.sahavicha.com/?name=faq&file=readfaq&id=290.Accessed[22/2/2553].
          การบริหารโรงเรียนเป็นฐาน. [Online]Available http://portal.in.th/inno-nat/pages/867/.Accessed[22/2/2553].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น